บริการตรวจทดสอบปั้นจั่น


กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการ
ด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
เกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ
พ.ศ.๒๕๖๔

“รอก”
หมายความว่า อุปกรณ์ผ่อนแรงมีลักษณะคล้ายล้อเพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายสิ่งของ โดยร้อยไว้กับเชือก โซ่ หรือลวดสลิง

“ปั้นจั่น”
หมายความว่าเครื่องจักรที่ใช้ยกสิ่งของขึ้นลงตามแนวดิ่งและเคลื่อนย้ายสิ่งของเหล่านั้นในลักษณะแขวนลอยไปตามแนวราบ 
และให้หมายความรวมถึงเครื่องจักรประเภทรอกที่ใช้ยกสิ่งของขึ้นลงตามแนวดิ่ง ความหมายนี้ถูกยกเลิกในปี 2564 

“ปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่”
หมายความว่า ปั้นจั่นที่ประกอบด้วยอุปกรณ์ควบคุม และเครื่องต้นกำลังอยู่ในตัว ซึ่งติดตั้งอยู่บนหอสูง ขาตั้ง หรือบนล้อเลื่อน

“ปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่”
หมายความว่า ปั้นจั่นที่ประกอบด้วยอุปกรณ์ควบคุม และเครื่องต้นกำลังอยู่ในตัว ซึ่งติดตั้งอยู่บนยานพาหนะที่ขับเคลื่อนได้

“การตรวจสอบ” หมายความว่า การตรวจสอบความเรียบร้อยของชิ้นส่วนหรือกลไกการทำงานของเครื่องจักร ปั้นจั่น หม้อน้ำ หม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน ภาชนะรับความดัน หรือภาชนะบรรจุก๊าซทนความดัน

“การทดสอบ” หมายความว่า การตรวจสอบ ทดลอง และรับรองการใช้งานชิ้นส่วนอุปกรณ์ หรือกลไกการทำงานของอุปกรณ์เพื่อความถูกต้องและปลอดภัย โดยบุคคลซึ่งขึ้นทะเบียนตามมาตรา 9 หรือนิติบุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตตามมาตรา 11แล้วแต่กรณี

“วิศวกร” หมายความว่า ผู้ซึ่งได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร

การจำแนกประเภท
ปั้นจั่นสามารถจำแนกได้ตามประเภทลักษณะของการใช้งาน ดังต่อไปนี้

  • ปั้นจั่นที่ใช้ในงานก่อสร้าง
    พิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด ไม่เกิน 3 ตัน ให้ตรวจทดสอบตามวาระทุก 6 เดือน
    พิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด มากกว่า 3 ตัน ให้ตรวจทดสอบตามวาระทุก 3 เดือน
  • ปั้นจั่นที่ใช้ในงานอื่น ๆ
    พิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด ตั้งแต่ 1 ตัน ไม่เกิน 3 ตัน ให้ตรวจทดสอบตามวาระทุก 1 ปี
    พิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด มากกว่า 3 ตัน ไม่เกิน 50 ตัน ให้ตรวจทดสอบตามวาระทุก 6 เดือน
    พิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด มากกว่า 50 ตัน ให้ตรวจทดสอบตามวาระทุก 3 เดือน
  • ปั้นจั่นที่หยุดการใช้งานตั้งแต่ 6 เดือนหรือซ่อมแซมที่มีผลต่อความปลอดภัย ให้ทดสอบใหม่ก่อนการใช้งาน

เกณฑ์การทดสอบ

  • ปั้นจั่นใหม่
    ขนาดไม่เกิน 20 ตัน  ทดสอบการรับน้ำหนักที่ 1 เท่า แต่ไม่เกิน 1.25 เท่า
    ขนาดมากกว่า 20 ตัน แต่ไม่เกิน 50 ตัน  ทดสอบการรับน้ำหนักเพิ่มอีก 5 ตันจากพิกัดยกอย่างปลอดภัย
  • ปั้นจั่นที่ใช้งานแล้ว
    ทดสอบการรับน้ำหนักที่ 1.25 เท่าของน้ำหนักที่ใช้งานจริงสูงสุด โดยไม่เกินพิกัดยกอย่าปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด

แบบฟอร์มการตรวจสอบ
ตามกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

  • แบบ ปจ.1 : (ปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่)
    31 รายการ สำหรับปั้นจั่นเหนือศีรษะ ปั้นจั่นหอสูง และปั้นจั่นขาสูง
  • แบบ ปจ.2 : (ปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่)
    42 รายการ สำหรับรถปั้นจั่น และเรือปั้นจั่น
ปั้นจั่นเหนือศีรษะ
ตรวจทดสอบตามกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
คลิ๊กดูตัวอย่างรายงาน ปจ.1
ตรวจทดสอบรถปั้นจั่น
ตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้นจั่น พ.ศ. 2554
คลิ๊กเพื่อดูตัวอย่างรายงานการตรวจทดสอบ
รับตรวจทดสอบเพื่อออกใบรับรอง ปจ.1 ปจ.2
รับตรวจทดสอบ้ำหนัก test-load พร้อมออกหนังสือรับรองโดยวิศวกร
Click Here
บริการตรวจทดสอบปั้นจั่น
คลิ๊ก
บริการตรวจทดสอบปั้นจั่นเหนือศีรษะ
พร้อมบริการ Test-Load
Click Here
Previous
Next

ติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อขอใบเสนอราคา 
โทรศัพท์ : 02-509-1140-41
มือถือ: 063-228-7791
E mail: admin@rtn.co.th